วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

3






                 ฤดูปลูกข้าวโพด





            ข้าวโพด เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปีถ้าไม่มีปัญหาเรื่องนํ้า แต่โดยทั่วไปเกษตรกรไทยปลูกข้าวโพด โดยอาศัยนํ้าฝนเป็นหลัก ดังนั้นฤดูปลูกโดยทั่วไปในประเทศไทย มี 2 ฤดู คือ

         1. ปลูกต้นฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ขึ้นอยู่กับการตกและการกระจายของฝนในท้องถิ่น เกษตรกรนิยมปลูกข้าวโพดต้นฤดูฝน เนื่องจากได้ผลผลิตสูงกว่า ไม่มีโรครานํ้าค้างระบาดพันธุ์สุวรรณ 2602 เทียบกับสุวรรณ 1 ทำ คงวามเสียหาย รวมทั้งปัญหาวัชพืชรบกวนน้อยกว่าปลูกปลายฤดูฝน แต่จะมีปัญหาจากสารพิษอะฟลาท้อกซิน


       2. ปลูกปลายฤดูฝน เริ่มประมารเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม การปลูกในฤดูปลายฝนนี้ ต้องใช้พันธุ์ที่ต้านทานต่อโรครานํ้าค้าง เพราะเป็นฤดูปลูกที่โรครานํ้าค้างระบาดทำ ความเสียหายให้แก่ข้าวโพดมากอย่างไรก็ตามข้าวโพดที่เก็บได้จากการปลูกต้นฤดูฝนคุณภาพของเมล็ดตํ่า ทั้งนี้เพราะเมล็ดเก็บเกี่ยวที่ความชื้นสูง ทำให้เกิดเชื้อรา ซึ่งสร้างสารพิษ อะฟลาท้อกซิน ทำ ให้เมล็ดข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวจากการปลูกต้นฤดูฝนมีสารพิษนี้ในปริมารสูง จนก่อให้เกิดปัญหาการรับซื้อจากตลาดต่างประเทศส่วนเมล็ดข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวจากการปลูกปลายฤดูฝน ไม่มีปัญหาเรื่องสารพิษอะฟลาท้อกซินถ้ามีก็น้อยเพราะการเก็บเกี่ยวกระทำ ในขณะที่ความชื้นในอากาศตํ่า





อัตราการปลูกและระยะปลูก


         การใช้อัตราและระยะปลูกที่เหมาะสมจะช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์ และช่วยให้ข้าวโพดเจริญเติบโตได้อย่างสมํ่าเสมอทั่วกัน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ปลูก ดังนี้

      ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระหว่างต้น 25 เซนติเมตร เมื่องอกแล้วถอนให้เหลือ 1 ต้น/หลุมหรือ ระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร เมื่องอกแล้วถอนให้เหลือ 2 ต้น/หลุม





การเตรียมดิน

      การเตรียมดินมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อทำ ให้สภาพของดิน เหมาะแก่การงอกและการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพด เพราะการไถเตรียมดินทำ ให้ขนาดของก้อนดินเล็ดลงทำ ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ช่วยกลบเศษพืชและวัสดุอื่นๆ ลงในดิน ช่วยกำ จัดวัชพืชรวมทั้งโรคและแมลงบางชนิด ช่วยให้ดินดูดซับนํ้าได้ดีขึ้นและช่วยลดการชะล้างดินจากการกระทำ ของนํ้าในการไถควนไถให้ลึกประมาณ 6-12 นิ้ว พลิกตากดินไว้ประมาณ 7-14 วัน เพื่อให้วัชพืชตายหลังจากนั้นพรวนดิน 1-2 ครั้ง เพื่อย่อยดินและปรับสภาพดินให้เรียบร้อยต่อการปลูก ถ้าเป็นพื้นที่ที่ลาดเท การไถครั้งสุดท้ายควรให้ขวางกับแนวลาดเทอะฟลาท้อกซินในข้าวโพด


           นอกจากนี้การปลูกข้าวโพดอาจปลูกบนดินที่ไม่ต้องมีการไถพรวนหรือไถพรวนเพียงเพื่อทำแถวปลูกเท่านั้นก็ได้ แต่การปลูกในแปลงที่เตรียมดินแบบนี้จะได้ผลต่อเมื่อการใช้สารเคมีกำ จัดวัชพืชโดยมี

     สารเคมีหลัก  คือ กรัมม้อกโซนหรือพารารวอท แล้วมีการใช้สารเคมีปราบวัชพืชชนิดอื่นที่เหมาะสมควบคู่กันไปด้วย เช่น อาทราซีน, อะลาคลอร์ เป็นต้น การปลูกข้าวโพดแบบไม่มีการไถพรวนนี้จะมีเศษซากพืชคลุมดิน เป็นต้น การปลูกข้าวโพดแบบไม่มีการไถพรวนนี้จะมีเศษซากพืชคลุมดิน สามารถช่วยในการซับนํ้าและอนุรักษ์ความชื้นในดินให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยลดความเสียหายจากการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี ผลดีของการปลูกโดยไม่มีการไถพรวนจะเห็นได้ชัดในพื้นที่ที่มีความลาดเทสูง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น