วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

4





       
               การกำจัดวัชพืช




     
         
             ทำได้หลายวิธี เช่น การใช้แรงงานคน การใช้เครื่องมือไถพรวน และการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชในการใช้สารเคมีนั้น สารเคมีแต่ละชนิดมีลักษณะการใช้คุณสมบัติในการปราบวัชพืช แลผลตกค้างแตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนใช้จึงควรอ่านคำ แนะนำ ให้ละเอียด การเลือกใช้สารเคมีชนิดใดขึ้นอยู่กับชนิดของวัชพืชที่ขึ้นอยู่ และชนิดของพืชที่จะปลูกในฤดูถัดไป รวมทั้งราคาของสารเคมีที่ใช้ในไร่ข้าวโพด


สารเคมีที่แนะนำ ได้แก่

       อาหารซีนชนิดผง 80% เป็นสารเคมีที่ใช้ก่อนพืชปลูกงอกควรใช้อัตรา 500 กรัม/ไร่ ถ้าเป็นดินเหนียวให้ใช้อัตราสูงกว่านี้สามารถควบคุมวัชพืชใบกว้างและใบแคบได้ดี แต่จะเป็นพิษต่อใบกว้างบางชนิดเช่น ผักและพืชตระกูลถั่ว ดังนั้น ถ้าปลูกถั่วตามหลังข้าวโพดในฤดูถัดไป ไม่ควรฉีดแปลงข้าวโพดด้วยสารอาทราซีนอะลาคลอร์ เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นวัชพืชปลูกจะงอก ใช้อัตรา 500-1,000 กรัม/ไร่กำจัดได้ดีเฉพาะวัชพืชใบแคบและเป็นพิษต่อข้าวฟ่าง ดังนั้น ถ้าจะปลูกข้าวฟ่างในฤดูถัดไปห้ามฉีดสารชนิดนี้การใช้สารเคมีกำ จัดวัชพืชจะได้ผลดีถ้าปฏิบัติให้ถูกต้องแต้มีข้อควรระวัง คือ ต้องผสมนํ้าและฉีดขณะที่ดินชื้น


     


   



                   การใส่ปุ๋ย

     การปลูกข้าวโพดในประเทศไทยมีการใช้ปุ๋ยน้อยมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำ ให้ผลผลิตข้าวโพดตํ่าและราคาค่อนข้างสูง รวมทั้งการขาดความรู้ในเรื่องการใส่ปุ๋ยในข้าวโพด จึงทำ ให้ผลผลิตดีขึ้นกว่าไม่ใส่ปุ๋ย

       สูตรปุ๋ยและอัตราที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่นขึ้นกับการวิเคราะห์ดินและระดับผลผลิตที่ต้องการในทางปฏิบัติเพื่อสะดวก แนะนำ ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0, 20-20-0 อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่
    
         การใส่ปุ๋ยนั้นถ้าในขณะปลูกจะสะดวกที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงแนะนำว่าควรใส่ปุ๋ยหลังจากดายหญ้าซึ่งระยะนี้ข้าวโพดโตพอสมควรแล้วพอที่จะคาดคะเนได้ว่าการปลูกข้าวโพดฤดูนี้จะล้มเหลว เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ฝนแล้ง ฯลฯ และอื่นๆ การใส่ปุ๋ยอาจกระทำ โดยการแซะดินให้ห่างจากโคนต้นข้าวโพด 1 คืบ ใส่ปุ๋ยแล้วกลบดิน






ความต้องการนํ้า

           ความต้องการนํ้าในระยะต่างๆ ของข้าวโพดไม่เทากัน ในระยะแรกๆของการเจริญเติบโตข้าวโพดต้องการนํ้าไม่มากนัก และค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามอายุ และต้องการนํ้าสูงที่สุดในช่วงออกดอกและช่วงระยะต้นลดลงมาก ต้องคาดคะเนวันปลูกเพื่อไม่ให้ข้าวโพดเจอแล้งตอนออกดอก โดยดูจากข้อมูลการตกและการกระจายของฝนภายในท้องถิ่นจากหลายๆ ปี และติดตามการพยากรณ์อากาศจะช่วยในการตัดสินใจในการกำหนดระยะเวลาปลูกที่เหมาะสมได้ดีขึ้น










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น