วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

6










โรคข้าวโพด




1. โรคราน้ำค้าง หรือ โรคใบลาย

       อาการ     เป็นโรคนี้ได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตของพืช ในระยะของต้นกล้าต้นจะแห้งตาย ไม่ให้ผลผลิตในต้นโตพันธุ์ที่ อ่อนแอต่อโรค สามารถให้ฝักได้ แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์ บ้างไม่ได้เมล็ดเลย ต้นที่เป็นโรคลักษณะสีใบจะเปลี่ยนเป็นสีขาว เขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อนเป็นทางยาวจากโคนถึงปลายใบ อาจยาวติดต่อกันหรือขาดเป็นช่วง สามารถเห็นผงสปอร์สีขาว ของเชื้อ สาเหตุตามราอยแผลบนใบในช่วงเช้าที่มีอากาศเย็นและความชื้นสูง ต้นที่มีอาการรุนแรง ส่วนยอดและดอกแตก ออกเป็นพุ่ม ก้านฝักยาวผิดปกติจำนวนฝักมากกว่าปกติแต่ไม่สมบูรณ์ เมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ดเลย

   สาเหตุ     เกิดจากเชื้อรา ชื่อพีโรโนสเคลอโรสปอรา

  การแพร่ระบาด โรคจะแพร่ระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว เป็นช่วงที่อากาศมีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ เชื้อราสร้างสปอร์ปลิวไปตามและเข้าทำลายข้าวโพดต้นปกติได้ต่อไปเรื่อย ๆ และสามารถเข้าทำลายพืชอาศัยชนิดอื่น ได้ เช่น ข้าวฟ่าง หญ้าพง แขม อ้อยเลา หญ้าคาหลวง โดยที่เชื้อสามารถพักตัวในรูปของสปอร์หนาในฤดูปลูกต่อไปได้

  การควบคุม    

     1. หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงหรือแหล่งที่มีโรคระบาดมาปลูก หรือเป็นเมล็ดพันธุ์ในฤดูปลูกต่อไป

     2. หมั่นตรวจดูไร่อยู่เสมอ หากพบต้นใดเริ่มแสดงอาการของโรค ให้จัดการถอนและเผาทำลายทันที เพื่อป้องกัน เชื้อระบาดไปยังต้นอื่น

      3. ใช้สารเคมีคลุกเมล็ดก่อนปลูก




   2. โรคใบไหม้
  
     อาการ     ระยะเริ่มแรกเป็นแผลจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็ก ต่อมาแผลขยายออกตามแนวทางยาวของใบ กลางแผลมีสีเทา ขอบแผลมีสีน้ำตาลในข้าวโพดที่เป็นโรครุนแรงจุดแปลจะขยายรวมตัวกันกลายเป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้ใบไหม้แห้งตายในที่สุด นอกจากนี้เกิดจุดแผลได้ บนลำต้น กาบใบ ฝัก และเมล็ด

สาเหตุ     เกิดจากเชื้อราชื่อเฮลมินโทสปอร์เรียม

การแพร่ระบาด     โรคสามารถถ่ายทอดทางเมล็ดพันธุ์จากต้นที่เป็นโรค โดยทางลมและฝน นอกจากนี้พบว่า หญ้าเดือยเป็นพืชอาศัยชนิดหนึ่งของเชื้อรานี้

การควบคุม    

  1. ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงที่เป็นโรคมาปลูก

  2. ในแหล่งที่มีโรคระบาด ควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว เพราะเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค

  3. ทำลายพืชอาศัย และเศษซากหลังการเก็บเกี่ยว





     3. โรคราสนิม

        อาการ     เกิดตุ่มแผลทั้งด้านบนใบและใต้ใบ เริ่มแรกมีสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ เมื่อแผลแก่ ตุ่มแผลจะแตกออก ภายในมีผงเชื้อราสีสนิมเหล็ก

สาเหตุ     เกิดจากเชื้อราชื่อ พักซิเนีย

การแพร่ระบาด     ผงสปอร์สีเหล็กสามารถปลิวไปตามลม และอาศัยอยู่ในเศษซากพืชและอยู่ในดิน ในรูปของ สปอร์ที่มีผนังหนา
การควบคุม   

 1. หลีกเลี่ยงปลูกข้าวโพดในแหล่งที่มีโรคระบาด

 2. เมื่อพบโรคให้เผาทำลาย

     


                        





การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษา 
        
           ฝักข้าวโพดจะแก่จัดและเก็บเกี่ยวได้เมื่อเปลือกหุ้มฝักเริ่มมีสีฟาง ทางที่ดีควรปล่อยข้าวโพดทิ้งไว้ในแปลงให้แห้งดีเสียก่อน  เพื่อทุ่นเวลาในการตากและสะดวกในการเก็บรักษา โดยเฉลี่ยแล้วข้าวโพดไร่พันธุ์ที่ใช้ปลูกอยู่ในประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ ๙๐-๑๒๐ วัน
         
          ในการเก็บเกี่ยวข้าวโพดชาวไร่ทั่ว ๆ ไปยังใช้แรงคนเก็บโดยหักฝักที่แห้งแล้วออกจากต้น แกะเปลือกหุ้มฝักออกหรือจะเอาไว้แกะเปลือกทีหลังก็ได้ การใช้เครื่องทุ่นแรงเก็บเกี่ยวข้าวโพดยังมีน้อยมากในประเทศไทย  ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องมือมีราคาแพง และมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ เพราะพันธุ์ที่ชาวไร่ปลูกมีความสูงของลำต้นและฝักไม่เท่ากัน  นอกจากนั้นต้นยังหักล้มมากอีกด้วย
         

    



    
        หลังจากเก็บฝักข้าวโพดและปอกเปลือกออกแล้ว  ควรตากฝักไว้ภายในโรงเรือนหรือทำแคร่เตี้ย ๆ กลางแจ้ง มีโครงไม้สำหรับใช้แฝกหรือผ้าพลาสติกคลุมเวลาฝนตกได้  ถ้ามีข้าวโพดเป็นจำนวนมากควรสร้างฉางขนาดกว้างพอสมควร  ยกพื้นสูงไม่ต่ำว่า  ๕๐ เซนติเมตร  พื้นเป็นไม้ระแนง ด้านข้างกรุด้วยลวดตาข่ายหรือไม้ระแนงเช่นเดียวกับพื้น ทั้งนี้เพื่อให้ลมโกรกผ่านเข้าออกได้ ด้านบนเป็นหลังคากันฝน
         
        เมื่อฝักข้าวโพดแห้งดีแล้ว จึงทำการกะเทาะเมล็ดไม่ควรกะเทาะเมล็ดเมื่อความชื้นยังสูงอยู่จะทำให้เมล็ดแตกมาก เครื่องกะเทาะเมล็ดข้าวโพดในปัจจุบัน มีทั้งแบบมือหมุน และแบบที่หมุนด้วยเครื่องยนต์ เครื่องกะเทาะเมล็ดเหล่านี้สร้างในประเทศ ราคาจึงไม่แพงนัก เครื่องกะเทาะใหญ่ ๆ อาจกะเทาะได้ถึง ๑,๐๐๐ ตัน/ชั่วโมง
         
          

          เมล็ดที่กะเทาะออกจากฝักแล้ว  ถ้ายังแห้งไม่สนิทควรตากต่อให้แห้ง ก่อนเก็บเข้ากระสอบควรมีความชื้นในเมล็ดไม่เกิน ๑๕% จากนั้นอาจนำไปจำหน่ายหรือเก็บในยุ้งฉางต่อไป  ถ้าจะเก็บไว้นานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนของเมล็ดที่เอาไว้ทำพันธุ์  ควรคลุกยากันเชื้อรา ออโทโซด์ ๗๕ หรือ ซีเรแซนเอ็ม ในอัตราประมาณ ๑ กรัม/เมล็ดข้าวโพด ๑ กิโลกรัม และใช้ยาป้องกัน และกำจัดแมลงดีดีทีผงชนิด ๗๕% ในอัตรา ๑ กรัม/เมล็ดข้าวโพด ๑๐ กิโลกรัมคลุกไปด้วย  สำหรับข้าวโพดเมล็ดที่เก็บไว้เลี้ยงสัตว์หรือเก็บไว้จำหน่ายนาน ๆ  ควรรมยาพวกเมทิลโบรไมด์เดือนละครั้ง 





5






      



   
     

         แมลงศัตรูข้าวโพด



   
         แมลงศัตรูข้าวโพดในประเทศไทย มีมากกว่า 80 ชนิด แต่ที่สำ คัญมีอยู่ 5-6 ชนิด แต่ละชนิดจะทำความเสียหายในช่วงอายุข้าวโพดแตกต่างกัน แบ่งได้ 2 ระยะคือ ระยะกล้าและระยะข้าวโพดย่างปล้องจนถึงเก็บเกี่ยว


1. แมลงศัตรูข้าวโพดระยะกล้า





 1.1 มอดดนิ เป็นด้วงขนาดเล็ก ลำตัวนั้นมีผิวขรุขระสีดำปนน้ำตาลเทาจะออกทำลายพืชในเวลาคํ่าพร้อมจับคู่ผสมพันธุ์ จะพบมอดดินตลอดทั้งปี เพราะว่ามีพืชไร่อื่นเป็นพืชอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ ข้าวฟ่าง อ้อย ละหุ่ง ฝ้าย ถั่วต่างๆ มันแก้ว และวัชพืชอีกหลายชนิด

การป้องกันการกำจัด ใช้สารฆ่าแมลงประเภทคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกจะให้ผลดี โดยใช้ฟูราไธโอคาร์บ (โปรเมท 40 เอสดี) อัตรา 10-15 กรัมต่อเมล็ดพันธ์ 1 กิโลกรัม หรือ คาร์โบซัลแฟน(ฟอสล์) อัตรา 20 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ใช้ได้ดีในสภาพดินที่มีความสูงแลฝนตก ถ้าเกิดมอดดินระบาด เมื่อข้าวโพดงอกแล้ว และสภาพพื้นที่แห้งแล้งแนะนำ ให้ใช้พอสส์อัตรา 40 มิลิกรัมต่อนํ้า 20 ลิตร



 


       1.2 หนอนกระทู้หอม เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก ทำ ลายกล้าข้าวโพดโดยจะกัดกินใบตั้งแต่ข้าวโพดงอกได้ 3-5 วัน จน 3สัปดาห์ พืชอาศัยมีหลายชนิดได้แก่ หอม ผักกาดทุกชนิด มะระ ถั่วต่างๆ องุ่นและไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ

     การป้องกันกำจัด ใช้เชื้อไวรัสอัตรา 12 มิลลิเมตร ต่อนํ้า 20 ลิตร พ่น 3 ครั้ง ตอนเย็น แต่ละ ครั้งห่างกัน 7 วัน หรือ ใช้ไตรฟลูมูรอน (อัลซิสทิน) อัตรา 30 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร


     2. แมลงศัตรูระยะข้าวโพดอย่างปล้องถึงเก็บเกี่ยว



      
              2.1 หนอนเจาะลำ ต้นข้าวโพด ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน หนอนจะทำ ลายโดยเจาะลำ ต้นทำความเสียหายทั้งข้าวโพดไร่และข้าวโพดฝักสด

     การป้องกันกำจัด ที่ได้ผลคือ หยอดยอดข้าวโพดด้วยคาร์โบฟูราน (ฟูราดาน 3% จี) อัตรา 30กรัม/นํ้า 20 ลิตร









        2.2 หนอนกระทู้ข้าวโพด ทำ ลายพืชในระยะที่ใบยอดใกล้จะคลี่ และในระยะที่กำ ลังออกไหมหนอนจะกัดกินยอดและใบทำให้แหว่งวิ่นถ้าระบาดรุนแรงใบจะถูกกินเหลือเพียงก้านใบ หนอนจะออกหากินในเวลากลางคืนเป็นส่วนมาก

      การป้องกันกำจัด สารฆ่าแมลงที่ใช้ได้ผลดี คือ คาร์บาริล (เซพวิน) และเมโทมิล(แลนเนท) พ่นทุก 7 วัน เมื่อมีการทำ ลายใบถึง 50 %

        2.3 หนอนเจาะฝักข้าวโพด ทำ ลายพืชโดยกัดกินไหม และเจาะเข้าไปที่ปลายฝักมักระบาดในฤดูที่มีการปลูกฝ้ายโดยเฉพาะตอนฝ้ายติดเสมอ และทำ ลายพืชอื่นๆ อีกเช่น ข้าวฟ่าง ยาสูบ
มะเขือเทศ ถั่วต่างๆ

      การป้องกันกำจัด ในข้าว, พืชไร่ไม่จำ เป็นต้องพ่นสารฆ่าแมลง แต่ในข้าวโพดหวานถ้ามีหนอนเจาะฝักในอัตรา 11 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตรหนอนชนิดนี้จะเข้าทำ ลายข้าวโพดในระยะออกดอกและออกไหมแล้วจึงควรหมั่นตรวจดูไร่ข้าวโพดหวานในระยะดังกล่าว






4





       
               การกำจัดวัชพืช




     
         
             ทำได้หลายวิธี เช่น การใช้แรงงานคน การใช้เครื่องมือไถพรวน และการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชในการใช้สารเคมีนั้น สารเคมีแต่ละชนิดมีลักษณะการใช้คุณสมบัติในการปราบวัชพืช แลผลตกค้างแตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนใช้จึงควรอ่านคำ แนะนำ ให้ละเอียด การเลือกใช้สารเคมีชนิดใดขึ้นอยู่กับชนิดของวัชพืชที่ขึ้นอยู่ และชนิดของพืชที่จะปลูกในฤดูถัดไป รวมทั้งราคาของสารเคมีที่ใช้ในไร่ข้าวโพด


สารเคมีที่แนะนำ ได้แก่

       อาหารซีนชนิดผง 80% เป็นสารเคมีที่ใช้ก่อนพืชปลูกงอกควรใช้อัตรา 500 กรัม/ไร่ ถ้าเป็นดินเหนียวให้ใช้อัตราสูงกว่านี้สามารถควบคุมวัชพืชใบกว้างและใบแคบได้ดี แต่จะเป็นพิษต่อใบกว้างบางชนิดเช่น ผักและพืชตระกูลถั่ว ดังนั้น ถ้าปลูกถั่วตามหลังข้าวโพดในฤดูถัดไป ไม่ควรฉีดแปลงข้าวโพดด้วยสารอาทราซีนอะลาคลอร์ เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นวัชพืชปลูกจะงอก ใช้อัตรา 500-1,000 กรัม/ไร่กำจัดได้ดีเฉพาะวัชพืชใบแคบและเป็นพิษต่อข้าวฟ่าง ดังนั้น ถ้าจะปลูกข้าวฟ่างในฤดูถัดไปห้ามฉีดสารชนิดนี้การใช้สารเคมีกำ จัดวัชพืชจะได้ผลดีถ้าปฏิบัติให้ถูกต้องแต้มีข้อควรระวัง คือ ต้องผสมนํ้าและฉีดขณะที่ดินชื้น


     


   



                   การใส่ปุ๋ย

     การปลูกข้าวโพดในประเทศไทยมีการใช้ปุ๋ยน้อยมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำ ให้ผลผลิตข้าวโพดตํ่าและราคาค่อนข้างสูง รวมทั้งการขาดความรู้ในเรื่องการใส่ปุ๋ยในข้าวโพด จึงทำ ให้ผลผลิตดีขึ้นกว่าไม่ใส่ปุ๋ย

       สูตรปุ๋ยและอัตราที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่นขึ้นกับการวิเคราะห์ดินและระดับผลผลิตที่ต้องการในทางปฏิบัติเพื่อสะดวก แนะนำ ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0, 20-20-0 อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่
    
         การใส่ปุ๋ยนั้นถ้าในขณะปลูกจะสะดวกที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงแนะนำว่าควรใส่ปุ๋ยหลังจากดายหญ้าซึ่งระยะนี้ข้าวโพดโตพอสมควรแล้วพอที่จะคาดคะเนได้ว่าการปลูกข้าวโพดฤดูนี้จะล้มเหลว เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ฝนแล้ง ฯลฯ และอื่นๆ การใส่ปุ๋ยอาจกระทำ โดยการแซะดินให้ห่างจากโคนต้นข้าวโพด 1 คืบ ใส่ปุ๋ยแล้วกลบดิน






ความต้องการนํ้า

           ความต้องการนํ้าในระยะต่างๆ ของข้าวโพดไม่เทากัน ในระยะแรกๆของการเจริญเติบโตข้าวโพดต้องการนํ้าไม่มากนัก และค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามอายุ และต้องการนํ้าสูงที่สุดในช่วงออกดอกและช่วงระยะต้นลดลงมาก ต้องคาดคะเนวันปลูกเพื่อไม่ให้ข้าวโพดเจอแล้งตอนออกดอก โดยดูจากข้อมูลการตกและการกระจายของฝนภายในท้องถิ่นจากหลายๆ ปี และติดตามการพยากรณ์อากาศจะช่วยในการตัดสินใจในการกำหนดระยะเวลาปลูกที่เหมาะสมได้ดีขึ้น










3






                 ฤดูปลูกข้าวโพด





            ข้าวโพด เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปีถ้าไม่มีปัญหาเรื่องนํ้า แต่โดยทั่วไปเกษตรกรไทยปลูกข้าวโพด โดยอาศัยนํ้าฝนเป็นหลัก ดังนั้นฤดูปลูกโดยทั่วไปในประเทศไทย มี 2 ฤดู คือ

         1. ปลูกต้นฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ขึ้นอยู่กับการตกและการกระจายของฝนในท้องถิ่น เกษตรกรนิยมปลูกข้าวโพดต้นฤดูฝน เนื่องจากได้ผลผลิตสูงกว่า ไม่มีโรครานํ้าค้างระบาดพันธุ์สุวรรณ 2602 เทียบกับสุวรรณ 1 ทำ คงวามเสียหาย รวมทั้งปัญหาวัชพืชรบกวนน้อยกว่าปลูกปลายฤดูฝน แต่จะมีปัญหาจากสารพิษอะฟลาท้อกซิน


       2. ปลูกปลายฤดูฝน เริ่มประมารเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม การปลูกในฤดูปลายฝนนี้ ต้องใช้พันธุ์ที่ต้านทานต่อโรครานํ้าค้าง เพราะเป็นฤดูปลูกที่โรครานํ้าค้างระบาดทำ ความเสียหายให้แก่ข้าวโพดมากอย่างไรก็ตามข้าวโพดที่เก็บได้จากการปลูกต้นฤดูฝนคุณภาพของเมล็ดตํ่า ทั้งนี้เพราะเมล็ดเก็บเกี่ยวที่ความชื้นสูง ทำให้เกิดเชื้อรา ซึ่งสร้างสารพิษ อะฟลาท้อกซิน ทำ ให้เมล็ดข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวจากการปลูกต้นฤดูฝนมีสารพิษนี้ในปริมารสูง จนก่อให้เกิดปัญหาการรับซื้อจากตลาดต่างประเทศส่วนเมล็ดข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวจากการปลูกปลายฤดูฝน ไม่มีปัญหาเรื่องสารพิษอะฟลาท้อกซินถ้ามีก็น้อยเพราะการเก็บเกี่ยวกระทำ ในขณะที่ความชื้นในอากาศตํ่า





อัตราการปลูกและระยะปลูก


         การใช้อัตราและระยะปลูกที่เหมาะสมจะช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์ และช่วยให้ข้าวโพดเจริญเติบโตได้อย่างสมํ่าเสมอทั่วกัน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ปลูก ดังนี้

      ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระหว่างต้น 25 เซนติเมตร เมื่องอกแล้วถอนให้เหลือ 1 ต้น/หลุมหรือ ระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร เมื่องอกแล้วถอนให้เหลือ 2 ต้น/หลุม





การเตรียมดิน

      การเตรียมดินมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อทำ ให้สภาพของดิน เหมาะแก่การงอกและการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพด เพราะการไถเตรียมดินทำ ให้ขนาดของก้อนดินเล็ดลงทำ ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ช่วยกลบเศษพืชและวัสดุอื่นๆ ลงในดิน ช่วยกำ จัดวัชพืชรวมทั้งโรคและแมลงบางชนิด ช่วยให้ดินดูดซับนํ้าได้ดีขึ้นและช่วยลดการชะล้างดินจากการกระทำ ของนํ้าในการไถควนไถให้ลึกประมาณ 6-12 นิ้ว พลิกตากดินไว้ประมาณ 7-14 วัน เพื่อให้วัชพืชตายหลังจากนั้นพรวนดิน 1-2 ครั้ง เพื่อย่อยดินและปรับสภาพดินให้เรียบร้อยต่อการปลูก ถ้าเป็นพื้นที่ที่ลาดเท การไถครั้งสุดท้ายควรให้ขวางกับแนวลาดเทอะฟลาท้อกซินในข้าวโพด


           นอกจากนี้การปลูกข้าวโพดอาจปลูกบนดินที่ไม่ต้องมีการไถพรวนหรือไถพรวนเพียงเพื่อทำแถวปลูกเท่านั้นก็ได้ แต่การปลูกในแปลงที่เตรียมดินแบบนี้จะได้ผลต่อเมื่อการใช้สารเคมีกำ จัดวัชพืชโดยมี

     สารเคมีหลัก  คือ กรัมม้อกโซนหรือพารารวอท แล้วมีการใช้สารเคมีปราบวัชพืชชนิดอื่นที่เหมาะสมควบคู่กันไปด้วย เช่น อาทราซีน, อะลาคลอร์ เป็นต้น การปลูกข้าวโพดแบบไม่มีการไถพรวนนี้จะมีเศษซากพืชคลุมดิน เป็นต้น การปลูกข้าวโพดแบบไม่มีการไถพรวนนี้จะมีเศษซากพืชคลุมดิน สามารถช่วยในการซับนํ้าและอนุรักษ์ความชื้นในดินให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยลดความเสียหายจากการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี ผลดีของการปลูกโดยไม่มีการไถพรวนจะเห็นได้ชัดในพื้นที่ที่มีความลาดเทสูง