วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

6










โรคข้าวโพด




1. โรคราน้ำค้าง หรือ โรคใบลาย

       อาการ     เป็นโรคนี้ได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตของพืช ในระยะของต้นกล้าต้นจะแห้งตาย ไม่ให้ผลผลิตในต้นโตพันธุ์ที่ อ่อนแอต่อโรค สามารถให้ฝักได้ แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์ บ้างไม่ได้เมล็ดเลย ต้นที่เป็นโรคลักษณะสีใบจะเปลี่ยนเป็นสีขาว เขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อนเป็นทางยาวจากโคนถึงปลายใบ อาจยาวติดต่อกันหรือขาดเป็นช่วง สามารถเห็นผงสปอร์สีขาว ของเชื้อ สาเหตุตามราอยแผลบนใบในช่วงเช้าที่มีอากาศเย็นและความชื้นสูง ต้นที่มีอาการรุนแรง ส่วนยอดและดอกแตก ออกเป็นพุ่ม ก้านฝักยาวผิดปกติจำนวนฝักมากกว่าปกติแต่ไม่สมบูรณ์ เมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ดเลย

   สาเหตุ     เกิดจากเชื้อรา ชื่อพีโรโนสเคลอโรสปอรา

  การแพร่ระบาด โรคจะแพร่ระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว เป็นช่วงที่อากาศมีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ เชื้อราสร้างสปอร์ปลิวไปตามและเข้าทำลายข้าวโพดต้นปกติได้ต่อไปเรื่อย ๆ และสามารถเข้าทำลายพืชอาศัยชนิดอื่น ได้ เช่น ข้าวฟ่าง หญ้าพง แขม อ้อยเลา หญ้าคาหลวง โดยที่เชื้อสามารถพักตัวในรูปของสปอร์หนาในฤดูปลูกต่อไปได้

  การควบคุม    

     1. หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงหรือแหล่งที่มีโรคระบาดมาปลูก หรือเป็นเมล็ดพันธุ์ในฤดูปลูกต่อไป

     2. หมั่นตรวจดูไร่อยู่เสมอ หากพบต้นใดเริ่มแสดงอาการของโรค ให้จัดการถอนและเผาทำลายทันที เพื่อป้องกัน เชื้อระบาดไปยังต้นอื่น

      3. ใช้สารเคมีคลุกเมล็ดก่อนปลูก




   2. โรคใบไหม้
  
     อาการ     ระยะเริ่มแรกเป็นแผลจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็ก ต่อมาแผลขยายออกตามแนวทางยาวของใบ กลางแผลมีสีเทา ขอบแผลมีสีน้ำตาลในข้าวโพดที่เป็นโรครุนแรงจุดแปลจะขยายรวมตัวกันกลายเป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้ใบไหม้แห้งตายในที่สุด นอกจากนี้เกิดจุดแผลได้ บนลำต้น กาบใบ ฝัก และเมล็ด

สาเหตุ     เกิดจากเชื้อราชื่อเฮลมินโทสปอร์เรียม

การแพร่ระบาด     โรคสามารถถ่ายทอดทางเมล็ดพันธุ์จากต้นที่เป็นโรค โดยทางลมและฝน นอกจากนี้พบว่า หญ้าเดือยเป็นพืชอาศัยชนิดหนึ่งของเชื้อรานี้

การควบคุม    

  1. ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงที่เป็นโรคมาปลูก

  2. ในแหล่งที่มีโรคระบาด ควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว เพราะเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค

  3. ทำลายพืชอาศัย และเศษซากหลังการเก็บเกี่ยว





     3. โรคราสนิม

        อาการ     เกิดตุ่มแผลทั้งด้านบนใบและใต้ใบ เริ่มแรกมีสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ เมื่อแผลแก่ ตุ่มแผลจะแตกออก ภายในมีผงเชื้อราสีสนิมเหล็ก

สาเหตุ     เกิดจากเชื้อราชื่อ พักซิเนีย

การแพร่ระบาด     ผงสปอร์สีเหล็กสามารถปลิวไปตามลม และอาศัยอยู่ในเศษซากพืชและอยู่ในดิน ในรูปของ สปอร์ที่มีผนังหนา
การควบคุม   

 1. หลีกเลี่ยงปลูกข้าวโพดในแหล่งที่มีโรคระบาด

 2. เมื่อพบโรคให้เผาทำลาย

     


                        





การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษา 
        
           ฝักข้าวโพดจะแก่จัดและเก็บเกี่ยวได้เมื่อเปลือกหุ้มฝักเริ่มมีสีฟาง ทางที่ดีควรปล่อยข้าวโพดทิ้งไว้ในแปลงให้แห้งดีเสียก่อน  เพื่อทุ่นเวลาในการตากและสะดวกในการเก็บรักษา โดยเฉลี่ยแล้วข้าวโพดไร่พันธุ์ที่ใช้ปลูกอยู่ในประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ ๙๐-๑๒๐ วัน
         
          ในการเก็บเกี่ยวข้าวโพดชาวไร่ทั่ว ๆ ไปยังใช้แรงคนเก็บโดยหักฝักที่แห้งแล้วออกจากต้น แกะเปลือกหุ้มฝักออกหรือจะเอาไว้แกะเปลือกทีหลังก็ได้ การใช้เครื่องทุ่นแรงเก็บเกี่ยวข้าวโพดยังมีน้อยมากในประเทศไทย  ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องมือมีราคาแพง และมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ เพราะพันธุ์ที่ชาวไร่ปลูกมีความสูงของลำต้นและฝักไม่เท่ากัน  นอกจากนั้นต้นยังหักล้มมากอีกด้วย
         

    



    
        หลังจากเก็บฝักข้าวโพดและปอกเปลือกออกแล้ว  ควรตากฝักไว้ภายในโรงเรือนหรือทำแคร่เตี้ย ๆ กลางแจ้ง มีโครงไม้สำหรับใช้แฝกหรือผ้าพลาสติกคลุมเวลาฝนตกได้  ถ้ามีข้าวโพดเป็นจำนวนมากควรสร้างฉางขนาดกว้างพอสมควร  ยกพื้นสูงไม่ต่ำว่า  ๕๐ เซนติเมตร  พื้นเป็นไม้ระแนง ด้านข้างกรุด้วยลวดตาข่ายหรือไม้ระแนงเช่นเดียวกับพื้น ทั้งนี้เพื่อให้ลมโกรกผ่านเข้าออกได้ ด้านบนเป็นหลังคากันฝน
         
        เมื่อฝักข้าวโพดแห้งดีแล้ว จึงทำการกะเทาะเมล็ดไม่ควรกะเทาะเมล็ดเมื่อความชื้นยังสูงอยู่จะทำให้เมล็ดแตกมาก เครื่องกะเทาะเมล็ดข้าวโพดในปัจจุบัน มีทั้งแบบมือหมุน และแบบที่หมุนด้วยเครื่องยนต์ เครื่องกะเทาะเมล็ดเหล่านี้สร้างในประเทศ ราคาจึงไม่แพงนัก เครื่องกะเทาะใหญ่ ๆ อาจกะเทาะได้ถึง ๑,๐๐๐ ตัน/ชั่วโมง
         
          

          เมล็ดที่กะเทาะออกจากฝักแล้ว  ถ้ายังแห้งไม่สนิทควรตากต่อให้แห้ง ก่อนเก็บเข้ากระสอบควรมีความชื้นในเมล็ดไม่เกิน ๑๕% จากนั้นอาจนำไปจำหน่ายหรือเก็บในยุ้งฉางต่อไป  ถ้าจะเก็บไว้นานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนของเมล็ดที่เอาไว้ทำพันธุ์  ควรคลุกยากันเชื้อรา ออโทโซด์ ๗๕ หรือ ซีเรแซนเอ็ม ในอัตราประมาณ ๑ กรัม/เมล็ดข้าวโพด ๑ กิโลกรัม และใช้ยาป้องกัน และกำจัดแมลงดีดีทีผงชนิด ๗๕% ในอัตรา ๑ กรัม/เมล็ดข้าวโพด ๑๐ กิโลกรัมคลุกไปด้วย  สำหรับข้าวโพดเมล็ดที่เก็บไว้เลี้ยงสัตว์หรือเก็บไว้จำหน่ายนาน ๆ  ควรรมยาพวกเมทิลโบรไมด์เดือนละครั้ง 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น